วันพุธที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2558

วิธีแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ  ได้แก่

1. จัดหาและพัฒนาระบบการตรวจคุณภาพในอากาศ ให้สามารถวิเคราะห์ปริมาณมลพิษทางอากาศชนิดต่าง ๆ เพื่อประเมินคุณภาพในอากาศ

2. หาทางลดปริมาณสารมลพิษทางอากาศจาแหล่งกำเนิด เพื่อให้สามารถควบคุมและรักษาคุณภาพอากาศให้ได้ตามมาตรฐาน

3. กระตุ้นให้ผู้ใช้รถยนต์ให้ความสำคัญในการดูแลรักษาเครื่องยนต์ให้อยู่ในภาพดีเพื่อ ลดควันดำ

4. ออกมาตรการตรวจสอบและตรวจจับรถยนต์ที่มีควันดำ

5. รณรงค์ให้ผู้ขับขี่รถยนต์มีวินัยและเคารพในกฎจราจรธีแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศ





การป้องกันมลพิษทางอากาศ  มีดังนี้

1. ลดสารภาวะมลพิษทางอากาศจากแหล่งกำเนิด โดยการเปลี่ยนแปลงคุณภาพเชื้อเพลิง ปรับปรุงกระบวนการผลิต และลดมลพิษจากยานพาหนะ

2. เข้มงวดกับมาตรการลดผลกระทบด้านภาวะมลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรม
และให้มีการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับภาวะมลพิษทางอากาศจากโรงงาน
     
3. สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีการเกษตร โดยนำวัสดุเหลือใช้จากภาคเกษตรมาใช้เป็นพลังงานเพื่อลดการเผาวัสดุเหลือใช้จากการเกษตรในที่โล่ง
     
4. ปรับปรุงระบบการกำจัดขยะมูลฝอยชุมชนให้มีการบริหารจัดการแบบครบวงจร ถูกหลักวิชาการ เพื่อลดการเผาขยะในที่โล่ง
     
5. ป้องกันการเกิดไฟป่า ตรวจติดตามปฏิบัติการดับไฟป่า และฟื้นฟูสภาพหลังเกิดไฟป่า
     
6. ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียนที่มาจากธรรมชาติ เช่น พลังงานแสงอาทิตย์ เพื่อลด ภาวะมลพิษทางอากาศจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง
     
7. ลดการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ที่มีสารประกอบของสารที่ทำให้เกิดภาวะเรือนกระจก
     
8. สนับสนุนให้มีการใช้ระบบการขนส่งที่มีมลพิษน้อย และส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน
     
9. รณรงค์และประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจอันตรายที่เกิดจากภาวะมลพิษทางอากาศ และมีส่วนรวมในการป้องกันแก้ไขมิให้เกิดภาวะมลพิษทางอากาศ
     
10. ปรับปรุงกฎหมาย เพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติตามและการใช้บังคับกฎหมายด้านการจัดการภาวะมลพิษทางอากาศ

ผลกระทบของมลพิษทางอากาศ

 ซึ่งจะมีผลต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ มีดังนี้
   
1.เกิดการเจ็บป่วยหรือการตายที่เป็นแบบเฉียบพลัน มีสาเหตุมาจากการที่ได้สัมผัสโดยการหายใจเอามลพิษทางอากาศที่ความเข้มข้นสูงเข้าสู่ปอดบรรดาผู้ที่เจ็บป่วยและตายนั้นมักจะเป็นพวกผู้สูงอายุ เด็ก


และผู้ที่ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจหรือโรคเกี่ยวกับหัวใจ
   
2. เกิดการเจ็บป่วยที่เป็นแบบเรื้อรัง  การเจ็บป่วยชนิดนี้เป็นผลเนื่องจากการได้สัมผัสกับมลพิษที่จะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพดังกล่าวได้ ที่พบบ่อยๆ ได้แก่ โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจต่างๆ

 


3. เกิดการเปลี่ยนแปลงของหน้าที่ทางสรีระต่างๆของร่างกายที่สำคัญได้แก่ การเสื่อมประสิทธิภาพในการทำงานทางด้านการระบาย

4. เกิดอาการซึ่งไม่พึงประสงค์ต่างๆ เช่น อาการระคายเคืองของอวัยวะสัมผัสต่างๆ เช่น ตา จมูก ปาก เป็นต้น

5. เกิดความเดือดร้อนรำคาญ เช่น กลิ่น ฝุ่น ขี้เถ้า เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้มีผลกระทบกระเทือนต่อความเป็นอยู่และจิตใจ ซึ่งอาจรุนแรงถึงขั้นที่เป็นสาเหตุของการโยกย้ายที่อยู่อาศัยเพื่อหลีกหนีปัญหาดังกล่าวก็ได้
  สาเหตุของมลพิษทางอากาศ

  มีดังต่อไปนี้

 1.  การเผาไหม้เชื้อเพลิงของกิจกรรมต่างๆ ได้แก่ รถยนต์


 การเผาขยะมลูฝอย เป็นต้น



 2. การฟุ้งกระจายของฝุ่นละอองและอนุภาคต่างๆ จากกิจกรรมผสม เช่น การก่อสร้าง



3. โรงงานอุตสาหกรรมผลิตหรือแปรรูปวัตถุดิบ ได้แก่ ปุ๋ย เหล็กกล้า อลูมิเนียม

 
 4. การเกษตร เช่น การเผาพื้นที่ทำการเกษตร การฉีดพ่นสารเคมี



ทำให้เกิดสารมลพิษจำพวก สารหนู สารตะกั่ว ควัน และขี้เถ้า เป็นต้น
   
  5. เตาปฏิกรณ์ เช่น การผลิตกระแสไฟฟ้า การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ ทำให้เกิดฝุ่นละอองของยูเรเนียม
 
   6. แหล่งกำเนิดจากธรรมชาติ เช่น ไฟป่า


 การเกิดปฏิกิริยาชีวเคมี ได้แก่ การเน่าเปื่อยและหมักของสารอินทรีย์ในน้ำ ดิน จะทำให้เกิดก๊าซมีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ แอมโมเนีย เป็นต้น

                 



วันอังคารที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2558

แหล่งกำเนิดมลพิษทางอากาศที่สำคัญของประเทศไทยอาจแบ่งเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้

1. แหล่งกำเนิดจากยานพาหนะ
            ปัญหานี้เป็นมลพิษทางอากาศที่เกิดจากการจราจรเป็นสำคัญซึ่งจะให้  ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ก๊าซออกไซด์ของไนโตรเจน  สารประกอบไฮโดรคาร์บอน ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์  รวมทั้งฝุ่นละอองขนาดเล็กและ สารตะกั่ว




2. แหล่งกำเนิดจากโรงงานอุตสาหกรรม
         มลพิษทางอากาศจากแหล่ง  กำเนิดอุตสาหกรรมโดยส่วนมากเกิด จากกระบวนการผลิตเช่น  จากการระเหยของก๊าซบางชนิด  ซึ่งเกิดจากขยะมูลฝอยและของเสีย เป็นต้น ซึ่งเชื้อเพลิงที่นำมาใช้ในการเผาไหม้และในกระบวนการผลิต นั้น มี 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ 
         • เชื้อเพลิงที่เป็นของแข็ง 
         • เชื้อเพลิงที่เป็นของเหลว ได้แก่ น้ำมันเตา และน้ำมันดีเซล 
         • เชื้อเพลิงที่เป็นก๊าซ ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ และก๊าซ LPG